10 อันดับแบรนด์ไทยที่มีมูลค่าสูงสุดปี 2023
SINGAPORE, June 28, 2023/EINPresswire.com/ — ภาคค้าปลีกเติบโตสูงขึ้นหลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง: รายงาน 50 อันดับบริษัทประจำปี 2023 โดย Brand Finance
• แบรนด์ค้าปลีก 3 แบรนด์ในการจัดอันดับมีมูลค่าพุ่งขึ้นอย่างน้อยถึง 8% โดยมีดูโฮมได้รับการจัดอันดับเป็นปีแรก
• ปตท. เป็นแบรนด์ของประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงสุด โดยอยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นปีที่สามติดต่อกัน
• เซ็นทรัลแกรนด์ได้รับการจัดอันดับอย่างยิ่งใหญ่โดยเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศไทย
• เซ็นทรัลพัฒนาเป็นอีกแบรนด์ที่มีความยิ่งใหญ่เช่นกันเพราะเป็นแบรนด์ที่เติบโตไวที่สุดของประเทศ (พุ่งขึ้น 34%)
แบรนด์ค้าปลีกในประเทศไทยกำลังได้รับอานิสงส์อย่างมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อันเนื่องมาจากภาคท่องเที่ยวกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว – ข้อมูลจากรายงาน 50 อันดับบริษัทประจำปีโดย Brand Finance ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับแบรนด์ที่มีมูลค่าและแข็งแกร่งที่สุด 50 แบรนด์ของประเทศไทย โดยมูลค่าแบรนด์ที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด ได้เติบโตขึ้นอย่างน้อย 8% ยกเว้นเพียงแค่บริษัทเดียวเท่านั้นที่มูลค่าแบรนด์ไม่เติบโตตามตัวเลขที่กล่าวไว้
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นช่วยทำให้แบรนด์ค้าปลีกทวีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภค จำนวนมากขึ้นเริ่มคุ้นเคยกับแบรนด์เหล่านี้ ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้นหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ผ่านพ้นไป การที่แบรนด์แข็งแกร่งขึ้นได้ส่งผลให้มูลค่าแบรนด์ของเซ็นทรัลรีเทลนั้นเติบโตขึ้น (โดยมูลค่าแบรนด์ได้ทะยานขึ้นกว่า 8% ขึ้นมาอยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) แม้ว่าอันดับจะลดลงมาหนึ่งอันดับโดยหล่นมาอยู่ที่ 8 ก็ตาม ทางด้านของโฮมโปร (มีมูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้น 28% เป็น 923.97 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งอยู่อันดับที่ 14 คงที่จากปีที่ผ่านมา และบิ๊กซี (มูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้น 16% เป็น 781.35 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตกมาหนึ่งอันดับ โดยมาอยู่ที่ 16 นอกจากนี้แรงเติบโตเชิงบวกยังช่วยให้ดูโฮมติดอันดับเป็นครั้งแรกในปีนี้อีกด้วย โดยอยู่ในอันดับที่ 28 ด้วยมูลค่าแบรนด์ 261.11 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปตท. ยังคงรักษาตำแหน่งแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดของประเทศไทยในปีนี้ โดยมีมูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้น 20% เป็น 6,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นของปตท. เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการทางการเงินอยู่ในระดับดีมาก โดยแบรนด์มีรายได้ประมาณ 47,610 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 โดยขยายตัวถึง 66.7% จากปีก่อน การเติบโตนี้เกิดขึ้นได้จากแรงหนุนของราคาและความต้องการน้ำมันและปิโตรเคมีในตลาดโลกที่สูงขึ้นอีกด้วย
ปตท. เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงได้รับรางวัลโครงการประเมินและจัดอันดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและธุรกิจยั่งยืนระดับดีเยี่ยมในปี 2022 และในปีนี้ ปตท. ยังได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึง 2 ด้าน ได้แก่ รางวัลความยั่งยืนเกียรติยศและรางวัลบริษัทนวัตกรรมยอดเยี่ยมเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ผ่านโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับแผนการลงทุนในธุรกิจพลังงานในอนาคต
เซ็นทาราแกรนด์เป็นแบรนด์โรงแรมหรูที่ไม่เพียงติดอันดับในปีนี้เป็นครั้งแรก แต่ยังถึงขั้นก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย อีกด้วย เซ็นทาราแกรนด์รั้งอันดับที่ 32 ด้วยมูลค่าแบรนด์ 232.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้รับคะแนนที่สูงมากในดัชนีความแข็งแกร่งแบรนด์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการที่มูลค่าแบรนด์เติบโตขึ้น ความแข็งแกร่งของแบรนด์ของเซ็นทาราแกรนด์ยังช่วยทำให้ผลประกอบการทางการเงินให้เติบโตขึ้นอีกด้วย โดยแบรนด์มีรายได้ประมาณ 232 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 หรือขยายตัวถึง 50% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
และแบรนด์ยังมีแผนขยายธุรกิจในต่างประเทศอีกด้วย โดยอาศัยผลพวงจากการที่ภาคท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ซึ่งในปีนี้เซ็นทาราแกรนด์มีแผนเปิดโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์โฮเทลโอซากาในเดือนกรกฎาคม 2023 นี้ ซึ่งเป็นโปรเจกต์สร้างโรงแรมหรูความสูง 33 ชั้น และจะเป็นโรงแรมห้าดาวแห่งแรกของแบรนด์ในญี่ปุ่น ทางแบรนด์ได้เล็งทำเลทองไว้ที่ย่านนัมบะซึ่งเป็นแหล่งรวมความบันเทิงและร้านค้าปลีกที่เป็นจุดหมายในการเดินทางของนักท่องเที่ยวมากมาย ในการนี้ได้มีการร่วมมือกับการบินไทย (ซึ่งมูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 991 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผู้เข้าพักจะได้รับโปรโมชันพิเศษในการจองที่พักในช่วงเปิดตัวโรงแรม และภายในปี 2027 ทางแบรนด์ได้ตั้งเป้าผงาดขึ้นเป็นผู้ให้บริการโรงแรมที่ใหญ่ที่สุด 100 อันดับแรกของโลกอีกด้วย
เซ็นทรัลพัฒนาเติบโตพุ่งทะยานแรงถึง 34% โดยครองอันดับที่ 23 ในการจัดอันดับของ Brand Finance และยังได้ตำแหน่งแบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยในปีนี้ไปครองอีกด้วย โดยขยับขึ้นมา 2 อันดับจากปีก่อน สร้างมูลค่าได้ถึง 373.37 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าแบรนด์ของเซ็นทรัลพัฒนาขยายตัวโดยมีพื้นมาจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่เติบโตขึ้นจากกิจกรรมทางการตลาดหลักต่างๆ เช่น เมื่อปี 2022 แบรนด์ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดตัวโครงการ “The Nice Collaboration for Thailand’s Tourism Ecosystem” โดยตั้งเป้าสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 23.03 ล้านเหรียญสหรัฐ
เซ็นทรัลพัฒนายังได้รับความสนใจจากผู้คนมากมายจากการเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ต่างๆ ในปี 2022 อาทิ การผนึกกำลังจับมือกับ Hermes เพื่อเปิดตัว Hermes Match Bangkok ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ Studio Ghibli และ ยูนิโคลไทยแลนด์ ในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานยอดนิยมของสตูดิโออนิเมชั่นที่คนทั้งโลกต่างหลงรัก ทั้งนี้แคมเปญส่งเสริมการขายที่กล่าวมาได้ช่วยให้แบรนด์ได้รับความสนใจจากทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากมาย
Alex Haigh, กรรมการผู้จัดการของ Brand Finance ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้กล่าวว่า
“ในการจัดอันดับ 50 แบรนด์ไทยโดย Brand Finance ประจำปีนี้พบว่าแบรนด์ค้าปลีกมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยการขยายตัวของมูลค่าแบรนด์เกิดจากเศรษฐกิจของประเทศได้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเราพบว่าโครงการด้านการตลาดและความร่วมมือของแบรนด์ต่างๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภคและเพิ่มความคุ้นเคยในแบรนด์ได้ประสบความสำเร็จแล้ว นอกจากนี้เราขอแสดงความยินดีกับแบรนด์จากภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปตท. หรือน้องใหม่ในการจัดอันดับอย่างเซ็นทาราแกรนด์และเซ็นทรัลพัฒนา ที่ครองตำแหน่งแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด แข็งแกร่งที่สุด และเติบโตเร็วที่สุดตามลำดับอีกด้วย”
อ่านรายงานการจัดอันดับ 50 บริษัทไทยโดย Brand Finance ประจำปี 2023 ฉบับเต็มได้ที่นี่ (https://brandirectory.com/rankings/thailand)
1 มูลค่าแบรนด์ หมายถึง ข้อดีทางเศรษฐกิจสุทธิที่เจ้าของแบรนด์ต้องสร้างขึ้นโดยการขอใบอนุญาตในตลาดเปิดให้แบรนด์ของตน สำหรับการจัดอันดับฉบับเต็ม ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม ชาร์ท และข้อมูลด้านอื่นๆ เกี่ยวกับวิธีจัดอันดับและความหมายของศัพท์ที่สำคัญสามารถอ่านได้จาก รายงานการจัดอันดับ 50 อันดับแบรนด์ไทยประจำปี 2023 โดย Brand Finance
2 Brand Finance กำหนดความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ของแบรนด์จากดัชนีเมทริกซ์เชิงดุลยภาพ โดยเป็นการประเมินการลงทุนด้านการตลาด ตราสารทุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้การประเมินตราสารทุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทำขึ้นโดยอิงเกณฑ์ ISO 20671 โดยใช้ข้อมูลการวิจัยตลาดที่ได้โดยตรงจากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 150,000 รายใน 38 ประเทศและ 31 ภาคส่วนธุรกิจ
–จบ–
ผู้ประสานงานนักข่าว
Andrew Ee
Communications Director – เอเชียแปซิฟิก
T: +65 6727 8388
a.ee@brandfinance.com
Joelle Chang
Communications Government – เอเชียแปซิฟิก
T: +65 6727 8387
j.chang@brandfinance.com
โปรดกดติดตาม Brand Finance ได้ทาง LinkedIn, Twitter, Fb, และ YouTube
Brand Finance คือใคร
Brand Finance เป็นที่ปรึกษาด้านการประเมินมูลค่าแบรนด์ชั้นนำของโลก ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการตลาดและการเงินมากว่า 25 ปี Brand Finance ประเมินความแข็งแกร่งของแบรนด์และวัดมูลค่าทางการเงินเพื่อช่วยให้องค์กรทุกประเภทสามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Brand Finance มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน มีสาขาในกว่า 20 ประเทศและให้บริการในหกทวีป โดยในแต่ละปี Brand Finance ได้ประเมินมูลค่าแบรนด์มากกว่า 5,000 แบรนด์โดยอาศัยการวิจัยตลาดที่ Brand Finance ได้ดำเนินการเอง และเผยแพร่ตีพิมพ์รายงานการจัดอันดับแบรนด์ตลอดทุกภาคส่วนธุรกิจและทุกประเทศกว่า 100 ฉบับด้วยกัน
Brand Finance เป็นบริษัทบัญชีที่ดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย เราคือผู้นำด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมประเมินมูลค่าแบรนด์ต่างๆ โดย Brand Finance เป็นองค์กรรายแรกที่ได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบอิสระว่าได้มาตรฐานทั้ง ISO 10668 และ ISO 20671 และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการมาตรฐานความรับผิดชอบทางการตลาด (Advertising and marketing Accountability Requirements Board – MASB) จากสหรัฐอเมริกา
ข้อสงวนความรับผิดชอบ
Brand Finance ใช้การวิเคราะห์ที่เป็นอิสระและเป็นกลางในการจัดทำการศึกษาฉบับนี้ ตัวเลขต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงและความคิดเห็นที่นำเสนอในการศึกษาฉบับนี้นำมาจากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะและสมมติฐานที่ Brand Finance ประเมินขึ้นในกรณีที่ข้อมูลดังกล่าวขาดหายไปหรือไม่ชัดเจน ทั้งนี้ Brand Finance ขอไม่รับผิดชอบและจะไม่รับผิดชอบในกรณีที่ภายหลังมีการพบว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะที่ได้นำมาใช้นั้นไม่ถูกต้อง ความคิดเห็นและการวิเคราะห์ทางการเงินที่นำเสนอในการศึกษาฉบับนี้จะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำด้านการลงทุนหรือธุรกิจ Brand Finance ไม่ได้ตั้งใจให้มีการนำการศึกษาฉบับนี้ไปใช้อ้างอิงไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม และขอไม่รับผิดชอบในเรื่องใดๆ ต่อบุคคล รัฐบาล หรือองค์กร
ข้อมูลที่นำเสนอในการศึกษาฉบับนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลที่เป็นทรัพย์สินของ Brand Finance โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทำสื่อเท่านั้น ห้ามนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปใช้เพื่อจุดประสงค์เชิงพาณิชย์หรือเทคนิคโดยไม่ได้รับการยินยอมจาก Brand Finance อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน
Andrew Ee
Brand Finance
+65 6727 8388
a.ee@brandfinance.com
Go to us on social media:
LinkedIn